Insulation of window and door frames outside

การติดตั้งยาแนวรอยต่อด้านนอก

เพิ่มฉนวนกันเสียงและความร้อนด้วย Flexifoam

อาคารก่อสร้างในปัจจุบัน มีการเคลื่อนตัวเนื่องจากสภาวะแวดล้อมต่างๆ รวมถึงวัสดุปิดผิวที่ทำการยึดกับตัวอาคารเอง ก็มีการขยับตัว หรือเตลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาด้วยเช่นกัน ดังนั้น วัสดุที่ทำการปิดร่องรอยต่อของอาคาร ควรเป้นวัสดุที่ให้การยืดตัวได้ดีเช่นกัน มากไปกว่านั้น สำหรับงานรอยต่อระหว่างผิวอาคารกับกรอบวงกบประตูหน้างต่างภายนอก ควรเป้นวัสดุโฟมที่เป้นทั้งฉนวนกันความร้อนและเสียงด้วย

โดยลำดับขั้นของการป้องกันจากสถาวะแวดล้อมต่างๆนั้น ชั้นในสุดจะเป็นการป้องกันอากาศและความชื้น ชั้นกลางจะเป็นการดูดซับเสียงและความร้อน และชั้นนอกสุดจะเป็นชั้นสำหรับการป้องกันน้ำหรือสิ่งสกปรกต่างๆจากภายนอกเข้าสู่ภายในอาคาร

Flexifoam

เพื่อเพิ่มความสามารถการดูดซับความร้อนมากขึ้น การใช้โฟม ควรติดตั้งในชั้นกลางของตัวฉนวนจนถึงด้านนนอก หากเป็นการติดตั้งบานแบบแขวน ส่วนการติดตั้งแบบภายในปกติ ควรยิงโฟมให้ปิดช่องว่างให้มิดชิดตั้งแต่ขั้นตอนติดตั้งวงกบ

Flexifoam เป็นโฟมที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรองรับการเคลื่อนตัวของอาคารได้สูงถึง 50% และยังมีประสิทธภาพในการดูดซับเสียงและความร้อนให้กับอาคาร โดยสามารถใช้ได้ทั้งงานติดตั้งประตูหน้าต่างเพื่อลดสูญเสียอุณหภูมิภายในของงานประตูหน้าต่าง ตามมาตฐาน EBP อีกด้วย โดยFlexifoam เป็นเพียงหนึ่งในสองผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐาน RAL จากประเทศเยรมันนี มาตรฐาน Socotec จากฝรั่งเศส และมาตรฐานการดูดซับเสียงจาก IFT

ผลการทดสอบการกันเสียงตามมาตรฐาน: (EN ISO 717-1)

  • 10 mm joint: RST,w = 60 dB (-1, -4)
  • 20 mm joint: RST,w = 60 dB (-1, -4)

ผลการทดสอบการกันความร้อนตามมาตรฐาน: (DIN 52612-1)

  • λ = 0.00345 W(m.K)

วิธีการใช้

  • เขย่าประมาณ 20 ครั้งก่อนใช้งาน โดยระหว่างการใช้ก็ให้เขย่ากระป๋องด้วยบ่อยๆ
  • ทำการพรมน้ำระหว่างการฉีด โดยหากต้องการทำซ้ำ หรือต้องการโฟมที่หนาขึ้น ให้ทำการฉีดน้ำก่อนทุกครั้งที่จะฉีดซ้ำ
  • ฉีดโฟมลงร่องรอยต่อ เพียง 65% เท่านั้น ตัวเนื้อโฟมจะทำการขยายตัวและปิดรอต่ออย่างมิดชิดด้วยตัวเอง
Soudafoam Gun B1 750ml
โฟมกระป๋องแบบใช้งานกับปืน
Soudafoam Gun Low Expansion B2 750ml
โฟมกระป๋องชนิดขยายตัวน้อย